วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กอนุบาล

            พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย (Improper Behavior in Young Children) หมายถึง การกระทำของเด็กที่เกิดจากความตั้งใจ โดยที่การกระทำนั้นไม่เหมาะสมกับสถานที่หรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม พฤติกรรมท้าทายอำนาจ พฤติกรรมรบกวนในชั้นเรียน พฤติกรรมไม่สนใจเรียน พ่อแม่และครูจึงควรวางแผนดำเนินการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก โดยการใช้เทคนิคจัดสภาพแวดล้อมที่ป้องกันไม่ให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?
            พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในห้องเรียนหรือแม้กระทั่งที่บ้านของเด็กเอง เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะให้เกิด เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อตัวเด็กและผู้อื่น ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีต่อบุคคลต่างๆที่แวดล้อมเด็กด้วย พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่

ยอมรับของเด็กมี 2 ลักษณะ ได้แก่ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Improper Behavior) และพฤติกรรมที่ผิดพลาด (Mistaken Behavior) ดังนี้
·      พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หมายถึง การกระทำที่เกิดจากความตั้งใจ โดยการกระทำนั้นไม่เหมาะกับสถานที่ หรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
  •      ความก้าวร้าว (Aggression) เป็นการทำร้ายทางร่างกายและทางวาจาต่อครู เพื่อนและสิ่งอื่นๆ
  •      ธรรม (Immorality) เป็นการกระทำที่ขาดต่อหลักศีลธรรม เช่น โกหก หลอกลวง ขโมย เป็นต้น
  •      ท้าทายอำนาจ (Defiance of authority) เป็นการปฏิเสธหรือฝ่าฝืนที่จะกระทำตามที่ครูหรือผู้ใหญ่ขอให้ทำ
  •      รบกวนชั้นเรียน (Class disruption) เช่น พูดเสียงดัง ตะโกน เดินไปเดินมา ขว้างปาข้าวของ ฯลฯ
  •      ไม่สนใจเรียน (Goofing off) เช่น ไม่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย เหม่อลอย ฯลฯ

·         พฤติกรรมที่ผิดพลาด (Mistaken Behavior) เป็นอีกมุมมองหนึ่งของพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของเด็ก เกิดจากความเชื่อว่าเด็กมีประสบการณ์และพัฒนาการที่จำกัด ระยะปฐมวัยเป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสังคม หากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับแล้วผู้ใหญ่มองพฤติกรรมของเด็กในลักษณะของการประพฤติผิด ย่อมหมายถึงเด็กรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิดและเด็กตั้งใจทำผิด หากมองพฤติกรรมเหล่านั้นเป็นข้อผิดพลาดของเด็ก อันเนื่องมาจากยังไม่มีวุฒิภาวะทางสติปัญญาและอารมณ์ ถือเป็นมุมมองที่ยอมรับในความแตกต่างและความเป็นปัจเจกของเด็กมากกว่า อันจะนำไปสู่ความช่วยเหลือให้เด็กเรียนรู้และแสดงออกในทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

การป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กปฐมวัยมีประโยชน์อย่างไร?
            พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เกิดจากความตั้งใจในการกระทำของเด็ก เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเด็กเองและต่อผู้ที่อยู่รอบข้างทั้งครู เพื่อน พ่อแม่ ผู้ปกครอง อีกทั้งยังทำให้กระบวนการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่ครูวางแผนไว้ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่เป็นความก้าวร้าว พฤติกรรมผิดศีลธรรม พฤติกรรมการท้าทายอำนาจ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมรบกวนชั้นเรียนและพฤติกรรมการไม่สนใจเรียน ซึ่งถ้าครูและผู้ใหญ่สามารถจัดการกับพฤติกรรมของเด็กได้จะเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
·         ช่วยให้เด็กสามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ เด็กจะได้เรียนรู้ว่าสิ่งใดกระทำแล้วเป็นที่ยอมรับ สิ่งใดที่ทำแล้วไม่เป็นที่ยอมรับ เช่น เด็กจะเรียนรู้ว่าถ้าพูดจาหยาบคายต่อเพื่อนจะทำให้เพื่อนไม่คบหาสมาคมด้วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้าสถานการณ์ต่างๆได้ดีอีกด้วย
·         ช่วยให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนดำเนินไปตามแผนที่วางไว้ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างอาจส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน และส่งผลกระทบต่อการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในภาพรวม เช่น พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประเภทไม่สนใจเรียน คอยก่อกวน ไม่นั่งอยู่กับที่คอยรบกวนผู้อื่น เดินไปเดินมาในห้องตลอดเวลาทำให้ครูและเพื่อนเดือดร้อน ดังนั้นถ้าครูสามารถป้องกันปัญหาที่เกิดจากพฤติ กรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ได้ จะทำให้การดำเนินการต่างๆในกระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น
·         ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมที่ดีให้กับเด็ก โดยเฉพาะคุณธรรมศีลธรรมทางศาสนา พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบาง อย่างเป็นการกระทำผิดตามหลักธรรมทางศาสนา เช่น การพูดเท็จ หลอกลวงผู้อื่น การลักขโมยสิ่งของ เป็นพฤติ กรรมการผิดศีลธรรมและเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ดังนั้นควรปลูกฝังพฤติกรรมที่เหมาะสมตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เด็กซึมซับพฤติกรรมที่ดีอย่างถูกต้อง
·         ช่วยให้เด็กมีวินัยทั้งต่อตนเองและสังคม การป้องกันและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เด็กเรียนรู้ความมีวินัย เช่น การตรงต่อเวลา การรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จทันตามเวลา การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของห้องเรียนและของโรงเรียน
·         ช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะควบคุมและกำกับตนเอง โดยเฉพาะการควบคุมตนเองในด้านอารมณ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างไม่เหมาะสม เพราะถ้าเด็กสามารถเก็บอารมณ์และควบคุมไม่ให้อารมณ์มาเป็นตัวทำลายการเข้าสังคม จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ สังคมได้ดีและมีพัฒนาการเป็นไปตามวัยด้วย
·         ช่วยให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือพัฒนาการเป็นไปตามวัย พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมประเภทการไม่สนใจเรียนส่งผลต่อพัฒนาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ถ้าเด็กได้รับการแก้ปัญหาให้พฤติกรรมการไม่สนใจเรียนลด ลงได้ ก็จะทำให้เด็กสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนกับเพื่อนและครูได้

·         ช่วยให้เด็กมีกิริยามารยาทและมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ การแก้ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมการท้าทายอำนาจ การไม่ปฏิบัติหรือปฏิเสธในสิ่งที่ผู้ใหญ่ให้ปฏิบัติเป็นการต่อต้านของเด็ก แสดงถึงพฤติกรรมที่ไม่มีสัมมาคารวะและเป็นการแสดงพฤติกรรมที่เสียมารยาท ดังนั้นการลดพฤติกรรมการท้าทายอำนาจลงได้ จะส่งผลให้เด็กมีมารยาทที่ดีและมีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่


     อ้างอิง : taamkru.com/th/พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น