วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
1.
การสร้างความผูกพันรักใคร่ เป็นพื้นฐานสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู
พ่อ – แม่ ผู้ปกครองจะต้องเริ่มสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดขึ้น
ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยแรกเกิด พ่อแม่
ผู้ปกครองได้สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน อุ้มอย่างทะนุถนอม เลี้ยงดูเอาใจใส่ในการทำกิจกรรมต่าง
ๆ ให้กับเด็ก ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล เป็นต้น
สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้การอบรมในวัยเด็กได้ผลดี
อีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดกับเด็กอีกด้วย
2.
ระบบการให้รางวัลทางด้านบวก เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนา จะมีการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน เช่น
ความรัก ความสนใจ คำชมเชย ซึ่งจะทำให้การกระทำนั้น ๆ
เกิดขึ้นอีก
3.
พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ประพฤติปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ดีงาม และถูกต้อง
4.
การควบคุมสิ่งแวดล้อม พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องจัดสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
เช่น การจัดให้เล่นเกมเพื่อเด็กจะได้รู้จักกฎเกณฑ์
และการรู้แพ้รู้ชนะ การจัดหาหนังสือที่มีประโยชน์อ่านให้เด็กฟัง
เพื่อให้เกิดนิสัยรักการอ่าน เป็นต้น
5.
วิธีการตอบสนองกลับ เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดเพื่อแสดงความรู้สึกของตนออกมาทั้งทางบวกและทางลบ
เมื่อเด็กมีปัญหาพ่อแม่ผู้ปกครองควรตัดสินใจฟังเด็กว่ากำลังพูดอะไร
เมื่อเด็กพูดจบพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสะท้อนความรู้สึกที่เด็กได้แสดงออกกลับไป
ด้วยคำพูดของพ่อแม่ผู้ปกครองเอง ซึ่งจะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ยอมรับและมีคุณค่า
อันจะส่งผลให้พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กเข้าใจได้ตรงกัน
6.
การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พ่อแม่ผู้ปกครองควรควบคุมพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับปัญหา วิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาได้แก่
6.1 การแยกเด็กออกจากกลุ่มในช่วงเวลาสั้น ๆ
6.2 การแยกตัวของพ่อแม่ผู้ปกครอง
6.3 การห้ามไม่ให้เด็กทำสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับตัวเด็กในช่วงเวลาหนึ่ง
6.4 การตี จะใช้ก็ต่อเมื่อใช้วิธีการอื่นไม่ได้ผลแล้ว
ไม่ควรทำกับเด็ก 2 ขวบ
และไม่ควรกระทำอย่างรุนแรง
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่ไม่เหมาะสม
1.
การสั่งสอนไม่ควรเป็นการเทศนา เพราะจะทำให้เด็กเบื่อ
ไม่สนใจใยดีที่จะฟัง ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องสอนด้วยเหตุผลสั้น
ๆ อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
2.
การดุด่า ไม่ควรนำมาใช้เพราะจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเกลียดพ่อ
แม่ ผู้ปกครอง
3.
การขู่ พ่อแม่ผู้ปกครองมักใช้คำขู่เด็กเมื่อมีความโกรธหรือเด็กไม่ยอมทำตาม
หรือไม่เชื่อฟัง ดังนั้น
ในการสอนหรืออบรมเด็กไม่ควรนำคำขู่มาใช้
4.
การพูดเสียดสี เหน็บแนม หรือ ถากถาง ที่พ่อแม่ผู้ปกครองประสงค์ทำเพื่อประชดหรือให้เด็กได้เจ็บโดยหวังว่าเด็กจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
แต่ในข้อเท็จจริงแล้วกลับกลายเป็นการทำลายสัมพันธ์ภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับเด็ก
5.
การสัญญา สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองและเด็ก
ควรอยู่บนพื้นฐานของความ เชื่อถือ
เชื่อใจซึ่งกันและกันไม่ใช่การสัญญา
6.
การติดสินบน จะทำให้เด็กทำดีเพียงชั่วครู่เท่านั้น
แต่ในระยะยาวแล้วจะไม่ได้ผล เพราะไม่สามารถติดตัวเด็กเป็นนิสัยได้
7.
การหลอกหรือหยอกล้อเด็กในทางที่ไม่ควร เพื่อหวังผลให้เด็กหยุดพฤติกรรมที่กำลังทำอยู่
หรือเพื่อความสนุกสนาน นอกจากจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกกลัวโดยไร้เหตุผลแล้ว
ยังเป็นการขัดขวางความอยากรู้อยากเห็นของเด็กอีกด้วย
บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในอบรมการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
พ่อแม่ ผู้ปกครองนอกจากจะเลี้ยงดูเด็กให้มีร่างกายแข็งแรง
ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยแล้วยังจะต้องมีการพัฒนาทางจิตใจ
และทางสังคมในเชิงจิตวิทยาให้กับเด็กด้วย บทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
มีดังนี้
1.
การตอบสนองความต้องการพื้นฐานของเด็กอย่างเพียงพอ
ซึ่งความต้องการพื้นฐานของเด็กแต่ละวัยไม่เหมือนกัน
เด็กแรกเกิดจะมีความต้องการทางร่างกายมาก ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน การนอน
การขับถ่าย และเมื่อเด็กโตขึ้นควรให้ความมั่นคงปลอดภัย
ความอบอุ่นและความรัก
2.
การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการพัฒนาการของเด็ก
ซึ่งได้แก่ การจัดให้เด็กได้พบกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาของเด็ก
การเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเลียนแบบ เป็นต้น
3.
การยอมรับในสิทธิของความเป็นคนของเด็ก การอบรมเลี้ยงดูเด็กของพ่อแม่ ผู้ปกครองมักจะมี
2 แบบ (ฉวีวรรณ กินาวงศ์. 2533 : 88-91) คือ 1)
แบบอัตตาธิปไตยหมายถึง การที่พ่อแม่ผู้ปกครองใช้กฎเกณฑ์ตายตัวและทำทุกอย่างตามกฎเกณฑ์เด็กที่ทำผิดมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
และ 2) แบบประชาธิปไตย
คือ การอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างมีเหตุผล
ให้เด็กมีสิทธิเสรีภาพการยอมรับในสิทธิความเป็นคนของเด็ก
อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/337450
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น