จิตใจของเด็กวัยอนุบาลเปรียบเสมือนฟองน้ำที่พร้อมจะซึมซับทุกสิ่งผ่านเข้ามา
และเก็บสะสมข้อมูลที่ได้รับอยู่ตลอดเวลา
หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม
จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้
รับการยอมรับจากผู้อื่น และเด็กก็จะมีความสุขมีกำลังใจ
มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง
และสามารถมีกระบวนการคิดแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ
ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย
และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก
พัฒนาการด้านอารมณ์วัยอนุบาลสำคัญอย่างไร?
พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและมีความสุข
วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วง
เวลาที่
เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆมากที่สุดในชีวิต เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่นไรในอนาคต ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เราเรียกว่า “บุคลิกภาพ” ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยากเมื่อเติบโตขึ้น ทั้งนี้เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กคือเด็ก ที่มีความรู้สึก มีความคิดเห็นของตัวเอง แต่จะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะช่วยอบรมสั่งสอน นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจริญเติบโตเป็นเด็กที่เป็นคนดี มีความสุข และมีความสมดุลในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาจึงเริ่มต้นขึ้นที่บ้าน ถ้าพ่อแม่พัฒนาลูกในทุกกิจกรรม ลูกจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง รู้จักกินเป็น ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น มีจิตใจที่ดีงาม มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะออกสู่สังคมนอกบ้านต่อไป เพราะเด็กวัยอนุบาลจะเก็บสะสมข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะ นำที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และสามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก
เด็กเรียนรู้เรื่องต่างๆมากที่สุดในชีวิต เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่เช่นไรในอนาคต ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในช่วงนี้ เป็นช่วงที่หล่อหลอมลักษณะพิเศษของแต่ละคน หรือที่เราเรียกว่า “บุคลิกภาพ” ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยากเมื่อเติบโตขึ้น ทั้งนี้เพราะเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กคือเด็ก ที่มีความรู้สึก มีความคิดเห็นของตัวเอง แต่จะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะช่วยอบรมสั่งสอน นำพาเข้าสู่เส้นทางที่ถูกที่ควร เด็กจึงจะเจริญเติบโตเป็นเด็กที่เป็นคนดี มีความสุข และมีความสมดุลในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาจึงเริ่มต้นขึ้นที่บ้าน ถ้าพ่อแม่พัฒนาลูกในทุกกิจกรรม ลูกจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง รู้จักกินเป็น ดูเป็น ฟังเป็น บริโภคเป็น มีจิตใจที่ดีงาม มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม พร้อมที่จะออกสู่สังคมนอกบ้านต่อไป เพราะเด็กวัยอนุบาลจะเก็บสะสมข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะ นำที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และสามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก
เด็กวัยอนุบาลมีสมรรถนะและพัฒนาการด้านอารมณ์อย่างไร?
ในขณะที่พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโต
พัฒนาการทางด้านอารมณ์ก็เช่นเดียวกัน เด็กวัยอนุบาลจะแสดงออกด้านอารมณ์เด่นชัดขึ้น
มีความสนใจในเรื่องต่างๆค่อนข้างสั้น เวลาดีใจ เสียใจ โกรธ หรือกลัว
ก็จะแสดงอารมณ์ออกมาเต็มที่ ได้แก่ กระโดด กอด ตบมือ โวยวาย ร้องไห้เสียงดัง ทุบตี
ขว้างปาสิ่งของ ไม่พอใจเมื่อถูกห้าม ฯลฯ เพียงชั่วครู่ก็จะหายไป
อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้มีดังนี้
อารมณ์ด้านบวก
·
รัก เมื่อเด็กรู้สึกมีความสุข
จะแสดงออกด้วยการกอด ยิ้ม หัวเราะ อยากอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลหรือสิ่งที่รัก
และอาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ตุ๊กตา หมอน ผ้าห่ม
·
สนุกสนาน เกิดจากความสุข
การประสบความสำเร็จในกิจกรรมที่ทำ หรือได้รับสิ่งใหม่ๆ เด็กจะแสดงออกด้วยการตบมือ
ยิ้ม หัวเราะ กระโดด กอด ฯลฯ
อารมณ์ด้านลบ
·
โกรธ เมื่อถูกขัดใจ ถูกแย่งของเล่น
ถูกห้ามไม่ให้ทำพฤติกรรมบางอย่าง เด็กจะแสดงออกด้วยการทุบตี กัด ข่วน
หรือแสดงวาจาโกรธเกรี้ยว
· กลัว กลัวถูกทอดทิ้ง กลัวคนแปลกหน้า
กลัวความมืด กลัวผี ซึ่งมักจะมาจากจินตนาการของเด็กเอง
· อิจฉา เมื่อมีน้องใหม่ และเด็กไม่เข้าใจ
อาจแสดงความโกรธ ก้าวร้าว หรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนอื่นๆ เช่น ดูดนิ้ว
ปัสสาวะรดที่นอน
· เศร้า
เสียใจ เกิดขึ้นเมื่อเด็กรู้สึกสูญเสียสิ่งที่รักหรือสิ่งที่มีความสำคัญ
เช่น ของเล่น จึงแสดงออกด้วยอาการที่เศร้าซึม ไม่ยอมเล่น ไม่รับประทานอาหาร
หรือรับประทานได้น้อยลง
อ้างอิง : taamkru.com/th/พัฒนาการด้านอารมณ์วัยอนุบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น