วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การอบรมเลี้ยงดูเด็กอนุบาล



วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 
                  1.   การสร้างความผูกพันรักใคร่   เป็นพื้นฐานสำคัญในการอบรมเลี้ยงดู   พ่อ แม่  ผู้ปกครองจะต้องเริ่มสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดขึ้น   ตั้งแต่เด็กยังอยู่ในวัยแรกเกิด  พ่อแม่   ผู้ปกครองได้สัมผัสลูกอย่างอ่อนโยน   อุ้มอย่างทะนุถนอม   เลี้ยงดูเอาใจใส่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้กับเด็ก  ดูแลความสุขสบายต่าง ๆ  พูดคุยกับเด็กด้วยเสียงที่นุ่มนวล  เป็นต้น   สิ่งนี้จะเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้การอบรมในวัยเด็กได้ผลดี   อีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพันรักใคร่ให้เกิดกับเด็กอีกด้วย
                  2.   ระบบการให้รางวัลทางด้านบวก   เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ   เมื่อเด็กได้กระทำพฤติกรรมที่พึงปรารถนา   จะมีการให้รางวัลหรือสิ่งตอบแทน   เช่น  ความรัก  ความสนใจ  คำชมเชย  ซึ่งจะทำให้การกระทำนั้น ๆ เกิดขึ้นอีก

10 ข้อควรทำเมื่อทำโทษลูก

            
            โลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ เราต่างก็มีวันแย่ ๆ ที่เราโมโหใส่ลูก ตะโกนใส่ลูก โดยไม่เคยย้อนกลับมาคิดว่าจริง ๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ การดุด่าลูกอย่างรุนแรงเพียงเพราะเขาทำห้องรก ก็ออกจะเกินไปหน่อย
            เมื่อย้อนกลับไปคิด เรามักรู้สึกผิดและบอกตัวเองว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีก แต่บางทีเราก็ควบคุมอารมณ์ไว้ไม่อยู่ เรามีคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและอบรมสั่งสอนลูกให้ได้ผลไปพร้อม ๆ กัน จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลัง
1. ใจเย็น ๆ เข้าไว้ ถ้าคุณพยายามจะ ทำโทษลูก ตอนที่คุณกำลังโกรธ อับอาย หรือเจ็บปวด รังแต่จะทำให้คุณโกรธ อาย และเจ็บปวดมากขึ้น เมื่อคุณปล่อยให้อารมณ์เป็นใหญ่ คุณก็จะกลายเป็นคนไม่มีเหตุผลทันที
2. ใช้เหตุผล ลงโทษลูกให้เหมาะสมกับความผิดที่เขาทำ เช่น ถ้าจะ ทำโทษลูก โดยการให้เขารับผิดชอบหน้าที่ล้างจานไปคนเดียวสองปี 

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กอนุบาล

            พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กปฐมวัย (Improper Behavior in Young Children) หมายถึง การกระทำของเด็กที่เกิดจากความตั้งใจ โดยที่การกระทำนั้นไม่เหมาะสมกับสถานที่หรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมที่ผิดศีลธรรม พฤติกรรมท้าทายอำนาจ พฤติกรรมรบกวนในชั้นเรียน พฤติกรรมไม่สนใจเรียน พ่อแม่และครูจึงควรวางแผนดำเนินการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก โดยการใช้เทคนิคจัดสภาพแวดล้อมที่ป้องกันไม่ให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์

พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็กปฐมวัยมีลักษณะอย่างไร?
            พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับในห้องเรียนหรือแม้กระทั่งที่บ้านของเด็กเอง เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จะให้เกิด เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อตัวเด็กและผู้อื่น ส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีต่อบุคคลต่างๆที่แวดล้อมเด็กด้วย พฤติกรรมที่ไม่เป็นที่

พัฒนาการด้านอารมณ์วัยอนุบาล

            จิตใจของเด็กวัยอนุบาลเปรียบเสมือนฟองน้ำที่พร้อมจะซึมซับทุกสิ่งผ่านเข้ามา และเก็บสะสมข้อมูลที่ได้รับอยู่ตลอดเวลา หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม จะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ที่ดี เด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้ รับการยอมรับจากผู้อื่น และเด็กก็จะมีความสุขมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และสามารถมีกระบวนการคิดแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จ ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก



พัฒนาการด้านอารมณ์วัยอนุบาลสำคัญอย่างไร?
            พ่อแม่ทุกคนย่อมอยากเห็นลูกเติบโตเป็นคนดีและมีความสุข วัยอนุบาลเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วง เวลาที่

พัฒนาด้านร่างกายวัยอนุบาล


            พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยอนุบาล (อายุ 3-6 ขวบ) เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเลี้ยงดูในช่วงวัยนี้จึงมีผลต่อคุณภาพของการเจริญเติบโต ความแข็งแรงของร่างกาย การเคลื่อนไหวและการทรงตัว หากผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม เด็กจะสามารถพัฒนาความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่ เต็มศักยภาพ

พัฒนาการด้านร่างกายวัยอนุบาลสำคัญอย่างไร?
               ครอบครัวมีความสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย หากลูกน้อยเติบโตในครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ ร่วมกิจกรรมต่างๆกับลูก บุคคลในครอบครัวมีการดำเนินชีวิตที่เป็นสุข มีการจัดเวลา จัดสถานที่ให้ลูกเคลื่อนไหว ออกกำลังกาย และเล่นอย่างปลอดภัย ลูกจะมีสุขภาพที่แข็งแรง เติบโตสมวัย มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส จะทำให้ลูกเกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่

พัฒนาการด้านสติปัญญาวัยอนุบาล

            เด็กวัยอนุบาล (3-6 ขวบ) เป็นวัยที่มีลักษณะเฉพาะของพัฒนาการทางสติปัญญา คือ เป็นวัยที่สามารถใช้สัญลักษณ์แทนสิ่ง ของ วัตถุ และสถานที่ได้ เริ่มมีทักษะในการใช้ภาษาที่จะอธิบายสิ่งต่างๆ มีความคิดคำนึง มีความตั้งใจทีละเรื่อง และยังไม่สามารถจะพิจารณาหลายๆเรื่องรวมกันได้ นอกจากนี้เด็กวัยนี้ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัวของสสาร พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้ ด้วยการที่พ่อแม่ไม่ปิดกั้นหนทางในการสร้างสรรค์ของเด็ก แต่ครอบครัวหรือผู้ใหญ่รอบตัวจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีความใฝ่รู้ ได้แสดงความสามารถ กล้าแสดงความคิดเห็น โดยปลูกฝังให้เด็กเป็นคนรู้จักคิด ฝึกให้สังเกตสิ่งรอบตัว ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ ให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกในเรื่องต่างๆ ให้เด็กได้ฝึกคิดแก้ปัญหาต่างๆด้วยตัวเอง ทั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลและความถูกต้องเหมาะสม


สาระที่ควรเรียนรู้ : สิ่งต่างๆรอบตัว

แนวการจัดประสบการณ์จากสาระที่ควรเรียนรู้
สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก



  • การคมนาคมและการสื่อสาร (การคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ, การติดต่อสื่อสาร)

  • จำนวน


สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก

                สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก เด็กควรจะได้รู้จักสิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งนี้เมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วเด็กควรเกิดแนวคิด ดังนี้


  • สิ่งต่างๆ รอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส น้ำบริสุทธิ์  อากาศบริสุทธิ์  ฉันเห็นสีต่างๆ ด้วยตา แสงสว่างช่วยให้ฉันมองเห็นสี  สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ฉันสามารถเห็น ตามดอกไม้  เสื้อผ้า  อาหาร  รถยนต์  และอื่นๆ  สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆกัน  เช่น แดง  เหลือง น้ำเงิน ฯลฯ สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน  สีบางสีสามารถใช้เป็นสัญญาณ  หรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
  • สิ่งต่างๆ รอบตัวฉันมีชื่อ  ลักษณะต่างๆ  กัน สามารถแบ่งตามประเภท ชนิด ขนาด สี รูปร่าง พื้นผิว วัสดุ รูปเรขาคณิต ฯลฯ